SATI Critical Thinking for Better Decision Making

หลักสูตร ทักษะการคิดอย่างมีสติเพื่อการตัดสินใจ

ความสามารถในการคิดแบบมีเหตุมีผลโดยอาศัยหลักฐาน หรือข้อสนับสนุน โดยไม่ใช้อารมณ์ ความเชื่อดั้งเดิม

ประสบการณ์ และอคติในการคิดและการตัดสินใจนั้น หรือที่เราเรียกว่าการคิดแบบมีวิจารณญาณ

"มีปัญหาก็ต้องรีบแก้ทันที จะปล่อยทิ้งไว้ได้อย่างไรกัน"

"ข้อมูลเยอะแยะไปหมด ไม่รู้จะเชื่อใครดี"

"ปัญหาใหญ่ขนาดนี้ เราคิดไม่ออกหรอก รอให้หัวหน้าคิดเองก็แล้วกัน"


หลักการและแนวความคิด

เพราะอะไรในสถานการณ์วิกฤต เรากลับยิ่งต้องมาเสียเวลากับการวิเคราะห์ข้อมูลให้มากขึ้น ?


สำหรับสมองแล้ว ยิ่งกำลังเผชิญหน้ากับวิกฤต เรายิ่งต้องอย่ารีบตัดสินใจ เพราะเมื่อใดก็ตามที่เราเผชิญกับปัญหา ที่กระตุ้นให้เราเกิดอารมณ์เชิงลบต่างๆ อย่างรุนแรง ไม่ว่าจะเป็นความรู้สึกกลัว วิตกกังวล เศร้า โกรธ เกลียด หรืออื่นๆ จะทำให้สมองส่วนคิดเราเสมือนหยุดทำงานไปชั่วขณะ เราจึงไม่สามารถที่จะคิด วิเคราะห์ เพื่อหาทางออกจากปัญหาได้เหมือนสถานการณ์ปกติ เมื่อไม่สามารถคิดเองได้ สมองส่วนอารมณ์ของเราจึงมีแนวโน้มที่จะเชื่อข้อมูลและวิธีการจากคนอื่นๆ ง่ายขึ้น อาจเกิดสถานการณ์พวกมากลากไป ทั้งที่สิ่งที่คนอื่นๆ รู้ก็อาจไม่ใช่สิ่งที่ถูกต้องก็ได้ หรือการถูกหลอกจากผู้ไม่ปรารถนาดี เพียงเพราะว่าในจังหวะนั้นสมองเราไม่พร้อมที่จะคิดอย่างเป็นเหตุเป็นผลได้เพียงพอ

ดังนั้นเมื่อเผชิญกับภาวะวิกฤต เราจึงต้องยิ่งมีสติ และหันมาวิเคราะห์สถานการณ์นั้นโดยใช้วิจารณญาณ จากสมองส่วนคิดให้มากขึ้น การใช้สมองทั้ง 4 ด้านมาใช้ในการวิเคราะห์และคิดแก้ปัญหาในสถานการณ์วิกฤต จะสร้างออกที่หลากหลายมากขึ้น เพราะเป็นการคิดและวิเคราะห์ปัญหาอย่างรอบด้าน ไม่รีบตัดสินโดยอาศัยข้อมูลเพียงส่วนใดส่วนหนึ่ง โดยเฉพาะการตัดสินใจตามๆ กัน โดยไม่ได้มองถึงบริบทของแต่ละองค์กรหรือบุคคลที่แตกต่างกัน


ยิ่งในปัจจุบันความรู้สึกไม่พร้อมรับมือกับสถานการณ์และข้อมูลที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในโลกยุคนี้ สามารถเกิดวิกฤติทั้งในชีวิตและธุรกิจได้ง่ายขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ การเตรียมตัวให้พร้อมก่อนที่จะเกิดวิกฤติต่างๆ จึงมีความจำเป็น เพราะไม่มีใครบอกได้ว่า เมื่อวิกฤตนั้นมาถึง เราจะยังมีสติมากพอที่จะควบคุมตัวเองไม่ให้เกิดอารมณ์เชิงลบได้หรือไม่ การจำลองสถานการณ์วิกฤตเพื่อสร้างแนวทางในการรับมือล่วงหน้าจึงเป็นสิ่งที่จำเป็น เพราะเมื่อวิกฤตมาถึง ต่อให้ไม่พร้อมคิด ก็ยังมีแนวทางเบื้องต้นที่จะพาเราผ่านพ้นปัญหา หรือบรรเทาความรุนแรงไปได้ เหมือนแพทย์ที่พร้อมดูแลรักษาผู้ป่วยหนักอยู่เสมอ เพราะเชื่อมั่นในแนวทางการรักษาที่ตระเตรียมเรียนรู้ไว้ก่อนแล้ว

หากบุคลากรในองค์กร มีความตระหนักต่อวิกฤติที่พร้อมจะเกิดขึ้นเสมอ มีการฝึกคิดวิเคราะห์สถานการณ์ที่สุ่มเสี่ยงล่วงหน้า รู้จักฝึกฝนในการใช้เครื่องมือในการคิดอย่างรอบด้าน จนมีแผนสำรองไว้เพียงพอ ก็จะทำให้บุคลากรและองค์กรเชื่อมั่นได้ว่า ไม่ว่าสถานการณ์จะเป็นเช่นไร เราจะมีศักยภาพเพียงพอที่จะก้าวข้ามวิกฤตไปด้วยกันได้อย่างแน่นอน


วัตถุประสงค์

  1. เข้าใจกลไกการทำงานของสมองส่วนคิดและอารมณ์ ซึ่งเป็นที่มาที่ไปของความคิดเชิงวิพากษ์ (Critical Thinking)
  2. ได้ฝึกฝนการคิดวิเคราะห์สถานการณ์ และสร้างทางออกจากวิกฤตโดยใช้สมองทั้ง 4 ด้าน เป็นเครื่องมือชวนคิด
  3. เพื่อให้ผู้เรียนสร้างแนวทางในการเผชิญกับภาวะวิกฤตได้ด้วยตนเอง สามารถประยุกต์เพื่อนำไปใช้ในชีวิตและการทำงานได้ทันที


รายละเอียดของเนื้อหาตามหลักสูตร

ช่วงที่ 1 Exploration มองเห็น ยอมรับ อยากเปลี่ยนแปลง กรอบความคิดในการเผชิญกับภาวะวิกฤตของตนเอง

  • กลไกสมองในภาวะวิกฤต
  • ความหมายและหลักการของความคิดเชิงวิพากษ์ (Critical Thinking)
  • สำรวจกรอบแนวคิดของเราในภาวะวิกฤต
  • Brain Activity คณิต อย่าคิดเร็ว สมองเร็วกับสมองช้า ต่างกันอย่างไร


ช่วงที่ 2 Empowerment สร้างความมั่นใจเพื่อก้าวข้ามกรอบความคิดที่จำกัด

  • พฤติกรรมยามเกิดภาวะวิกฤติ ต่อสู้ ถอยหนี เสแสร้ง แกล้งตาย
  • 5 Brain CARES อะไรทำให้สมองของเราตกอยู่ในภาวะวิกฤต
  • เทคนิคก้าวข้ามหลุมพรางในภาวะวิกฤต
  • Workshop กำหนดแนวทางการเอาชนะความคิดเชิงลบในภาวะวิกฤต


ช่วงที่ 3 Expanding เครื่องมือกระตุ้นความคิดในภาวะวิกฤต

  • ภาวะวิกฤติที่เราอาจต้องเผชิญในยุค 4.0
  • การเรียนรู้และตัดสินใจด้วยสมองส่วนคิด
  • หลักการของสมอง 4 ด้าน เครื่องมือการคิดให้รอบด้าน
  • Case Study ฝึกฝนเพื่อสร้างแนวทางการรับมือกับวิกฤตที่พบบ่อยในยุค 4.0 ให้ครบถ้วนรอบด้าน ด้วยสมองทั้ง 4 ส่วน


ช่วงที่ 4 Engagement การประยุกต์ใช้ Critical Thinking ในสถานการณ์ต่างๆ

  • การใช้ Critical Thinking กับการวิเคราะห์ข้อมูล
  • การใช้ Critical Thinking กับการสร้างแผนรับมือวิกฤต
  • เตรียมความพร้อมให้ตนเองมีศักยภาพเพื่อรับมือกับภาวะวิกฤตที่อาจเกิดขึ้น
  • Workshop กำหนดแผนในการทำงานเพื่อพัฒนาตนเองให้พร้อมรับมือกับภาวะวิกฤตต่างๆ



Reserve your next workshop or training.

สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ Line Official : @intuit-leader

info.intuitleader@gmail.com

(066) 139-2111 (คุณนุ้ย)

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ
Powered By MakeWebEasy Logo MakeWebEasy