Professional Mentor

ก้าวสู่การเป็น 'พี่เลี้ยงในองค์กร' อย่างมืออาชีพ

ความเข้าใจในบทบาทของพี่เลี้ยง มีเทคนิคการให้คำปรึกษาและดูแล ไปใช้ในการดูแล และพัฒนาบุคลากรในฐานะพี่เลี้ยงได้ตามสภาวะที่เหมาะสม

เพื่อกระตุ้นให้เกิดการสร้างระบบการเป็นพี่เลี้ยง (Mentoring System) ในองค์กรมากขึ้น เพื่อการรักษาและสร้างความผูกพันภายในองค์กร

หลักการและความสำคัญ

บริษัทที่มีการจัดการที่ดี จะให้ความสำคัญในการรักษาดูแลและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของตัวเอง ซึ่งมีทั้งที่มีความชัดเจนเป็นระบบ และวิธีการที่ไม่ชัดเจน เช่น การปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้มีหน้าที่ในการดูแลพนักงานใหม่ อันได้แก่ พี่เลี้ยง (Mentoring) ซึ่งเป็นการดูแลอย่างเป็นระบบชัดเจน อย่างมีกระบวนการ การเป็นที่ปรึกษาเชิงจิตวิทยา (Counseling) เป็นการให้คำปรึกษาเพื่อดูแลจิตใจ เพื่อช่วยให้พนักงานใหม่สามารถปรับตัวเข้ากับองค์กรและวัฒนธรรมขององค์กรได้อย่างร่วมเร็ว พร้อมทั้งปลูกฝังค่านิยมที่เป็นที่ต้องการขององค์กร ซึ่งส่งผลให้พนักงานสามารถปรับตัวและมีความพร้อมในการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพได้อย่างรวดเร็ว พร้อมทั้งช่วยให้ทีมงานสามารถพัฒนาศักยภาพภายในตนเองเพื่อขับเคลื่อนผลการดำเนินงานที่รับผิดชอบ ผ่านการสอนแนะอย่างมีกระบวนการหรือที่เรียกว่าการโค้ช (Performance Coaching)


วัตถุประสงค์

  1. เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ ความเข้าใจในบทบาทของพี่เลี้ยง ได้อย่างชัดเจนสามารถปฏิบัติตัวได้อย่างเหมาะสมกับบทบาทดังกล่าว
  2. เพื่อให้ผู้เรียนได้นำเทคนิคการ ปรึกษาและดูแล (Mentoring) ไปใช้ในการพัฒนาบุคลากรได้ตามสภาวะที่เหมาะสมด้วย Style ของตัวเอง
  3. เพื่อกระตุ้นให้เกิดการสร้างระบบการเป็นพี่เลี้ยง (Mentoring System) ในองค์กรมากขึ้น เพื่อการรักษาและสร้างความผูกพันภายในองค์กร
  4. เพื่อให้สามารถนำคุณสมบัติและวิธีปฏิบัติของผู้นำแห่งการเรียนรู้และการเป็นผู้พัฒนาในฐานะพี่เลี้ยงไปประยุกต์ใช้ ในการสร้างบรรยากาศการทำงานแบบร่วมแรงร่วมใจ และไว้เนื้อเชื่อใจในองค์กร


กลุ่มเป้าหมาย

เหมาะสำหรับ หัวหน้างาน / ผู้จัดการ / ผู้ที่ได้รับคัดเลือกให้เป็นพี่เลี้ยง


รายละเอียดเนื้อหาหลักสูตร วันที่ 1

เวลา 09.00 - 12.00 น.

ช่วงที่ 1 การปรึกษาและดูแลพนักงานในฐานะพี่เลี้ยง (Mentor)

  • การเป็นที่ปรึกษาและดูแลในฐานะพี่เลี้ยง (Mentoring) คืออะไร?
  • แนวความคิดและวัตถุประสงค์ของระบบพี่เลี้ยง (Mentor) ในการดูแลพนักงานใหม่
  • บทบาทหน้าที่ของพี่เลี้ยงที่สำคัญต่อการรักษาคนและสร้างความผูกพันภายในองค์กร
  • ขอบเขตความรับผิดชอบของพี่เลี้ยงในการให้คำแนะนำในการปรับตัวเข้ากับองค์กรของพนักงานใหม่
  • หลุมพรางที่เป็นอุปสรรคในการสร้างระบบพี่เลี้ยง
  • กระบวนการและการดำเนินการในการทำหน้าที่พี่เลี้ยงในการดูแลพนักงานใหม่
  • คุณสมบัติของพี่เลี้ยง
  • คุณลักษณะและทัศนคติของพี่เลี้ยงที่ดี
  • Workshop :
  • ออกแบบแนวทางการเป็นพี่เลี้ยงของตัวเองในการดูแลทีมงาน
  • ตัวอย่างแบบฟอร์มการแจ้งรายชื่อและข้อมูลพนักงานพนักงานใหม่
  • ตัวอย่างแบบฟอร์มการแจ้งรายชื่อข้อมูลพี่เลี้ยง

เวลา 13.00 14.30 น.

ช่วงที่ 2 วิเคราะห์ความแตกต่างของการพัฒนาทีมงานในแต่ละบทบาท (TAPS Model)

  • วิเคราะห์วัตถุประสงค์ในการพัฒนาทีมงานด้วย KSA Model
  • Teaching เพื่อสอนให้ทีมงานเข้าใจข้อมูลและองค์ความรู้ในเชิงวิชาการ
  • Training เพื่อให้ทีมงานสามารถปฏิบัติตามวิธีการจนกลายเป็นทักษะความเชี่ยวชาญ
  • Coaching เพื่อกระตุ้นให้ทีมงานอยากเปลี่ยนแปลงตนเองและดึงศักยภาพออกมาใช้ในการขับเคลื่อนผลงาน
  • Counseling เพื่อดูแลและเยียวยาจิตใจทีมงานในสภาวะกดดัน หมดไฟ ใจท้อ ไม่กระตือรือร้น ไม่อยากทำงาน
  • Consulting เพื่อแนะนำทางเลือกในการแก้ปัญหาในการทำงานให้กับทีมงาน
  • Mentoring เพื่อแนะนำวัฒนธรรมองค์กร การปรับตัวเข้ากับองค์กร หรือตำแหน่งที่ดำรงอยู่
  • Workshop : วิเคราะห์ศักยภาพทีมงานเพื่อเตรียมกำหนดเครื่องมือสำหรับการพัฒนา


ทักษะที่สำคัญสำหรับการเป็นพี่เลี้ยงในองค์กร

เวลา 14.45 16.30 น.

ช่วงที่ 3 ทักษะการอ่านและเข้าใจคน เพื่อการสื่อสารสร้างสัมพันธ์ให้เกิดความไว้วางใจ

  • ART : ศิลปะการสื่อสารและการสร้างความไว้ใจ
  • A : Approach การเข้าหา และการบริหารคนตามสถานการณ์และสไตล์การทำงาน
  • การอ่านและเข้าใจคนแต่ละประเภท และการประยุกต์ใช้กับบริบทการเป็นพี่เลี้ยง
  • วิเคราะห์รูปแบบการตัดสินใจที่แตกต่างกันและวิธีโน้มน้าวใจคนแต่ละประเภท
  • ธรรมชาติของสมองกับการพัฒนาตนเอง (4F for Survive)
  • R : Rapport การพิชิตจิตใต้สำนึกและจูงใจทีมงาน
  • อิทธิพลของความแตกต่างทางบุคลิกภาพอันส่งผลต่อความไว้วางใจ และความขัดแย้งของผู้คน
  • T : Trust การสร้างความไว้วางใจ และสร้างศรัทธาสำหรับการเป็นพี่เลี้ยง
  • แนวทางการสร้างความสัมพันธ์และสร้างความไว้วางใจในการบริหารทีมงานแต่ละสไตล์ด้วย 3V Model


รายละเอียดเนื้อหาหลักสูตร วันที่ 2

เวลา 09.00 - 10.30 น.

ช่วงที่ 4 ทักษะการสื่อสารเพื่อการให้คำปรึกษาสำหรับพี่เลี้ยง

  • เทคนิคการสื่อสารให้ผู้อื่นเข้าใจอย่างมีลำดับขั้น Think & Speak
  • เทคนิคการสื่อสารเพื่อการจูงใจให้ผู้อื่นคล้อยตามแนวความคิดด้วยตรรกะ BEPs Model
  • 7 ขั้นตอน การสื่อสารเพื่อเปลี่ยนแปลงความขัดแย้งและโน้มน้าวใจผ่านหลักการ NVC การประยุกต์ใช้ทักษะการสื่อสารเพื่อสร้างสัมพันธ์และขับเคลื่อนผลงานด้วยการร้องขอผ่านสถานการณ์ที่อาจจะก่อให้เกิดความขัดแย้ง


เวลา 10.45 - 12.00 น.

ช่วงที่ 5 ทักษะการฟังอย่างใส่ใจ เพื่อการเข้าใจภายในจิตใจ และให้คำปรึกษาเชิงจิตวิทยาสำหรับพี่เลี้ยง

  • เรียนรู้หลักการทางจิตวิทยาเชิงลึก ผ่าน Satir Transformational Systemic Therapy
  • การฟังเพื่อเข้าใจภายในจิตใจของพนักงานใหม่ในมิติต่างๆ (เช่น ความรู้สึก/มุมมอง/ความคาดหวัง/ที่มีต่อตนเอง งานของตนเอง - เพื่อนร่วมงาน และองค์กร/ความปรารถนาที่แท้จริง
  • การเข้าใจพฤติกรรมและสาเหตุแห่งพฤติกรรม
  • การเข้าใจความรู้สึก
  • การเข้าใจกรอบความคิดและศักยภาพที่ซ่อนอยู่ภายใน (ค่านิยม / ความเชื่อ / ความรู้ /ประสบการณ์)
  • การเข้าใจความคาดหวัง
  • การเข้าใจความปรารถนาที่แท้จริงที่เป็นแรงผลักดันให้เกิดพฤติกรรม
  • พฤติกรรมที่ส่งผลให้การฟังไร้ประสิทธิภาพ
  • ฝึกทักษะฟัง เพื่อการให้คำปรึกษาเชิงจิตวิทยาสำหรับการช่วยเหลือและดูแลใจของพนักงานใหม่


เวลา 13.00 14.30 น.

ช่วงที่ 6 ทักษะการโค้ช (Coaching) เพื่อการขับเคลื่อนผลงานสำหรับการเป็นพี่เลี้ยง (Mentor)

  • เรียนรู้ภาพรวมกระบวนการโค้ชเพื่อการพัฒนาศักยภาพทีมงาน
  • การสร้างความสัมพันธ์และความไว้วางใจ Rapport & Trust
  • การตั้งเป้าหมายร่วมกัน Goal Setting
  • การใช้คำถามกระตุ้นศักยภาพ Powerful Question
  • การฟังเชิงลึก Deep Listening
  • การสะท้อนกลับเพื่อสร้างความกระจ่างชัด Reflection
  • การสร้างการเปลี่ยนแปลงและคำมั่นสัญญาในการลงมือปฏิบัติ (Commitment to change)
  • ฝึกปฏิบัติ ใช้เครื่องมือการโค้ชชิ่งด้วย 5 Minute Coaching

เวลา 14.45 15.30 น.

ช่วงที่ 7 การให้ข้อมูลป้อนกลับเชิงบวกและการให้คำปรึกษาสำหรับพี่เลี้ยง เพื่อการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

  • การชื่นชมเพื่อสร้างกำลังใจ
  • ชื่นชมสิ่งที่ดี
  • พูดถึงศักยภาพที่เหลืออยู่
  • จูงใจให้ก้าวข้ามอุปสรรค
  • ให้กำลังใจในการเผชิญปัญหา
  • สร้างความมั่นใจให้ผู้รับคำปรึกษา
  • หลักการให้ข้อมูลป้อนกลับเพื่อการพัฒนาอย่างสร้างสรรค์ FISHs Model
  • เทคนิคการให้ข้อมูลป้อนกลับ WRI Feedback
  • ฝึกปฏิบัติ : ทักษะการให้กำลังใจและการให้ข้อมูลป้อนกลับเชิงบวก


เวลา 15.30 16.30 น.

ช่วงที่ 8 กระบวนการเริ่มทำหน้าที่พี่เลี้ยงและการติดตามผล

  • เตรียมแผนการพัฒนาน้องเลี้ยง
  • กำหนด พี่เลี้ยง และ น้องเลี้ยง
  • ดำเนินการพัฒนาน้องเลี้ยง
  • การติดตามและประเมินผล
  • ตัวอย่างการจัดทำ Skills Matrix หลักสูตรการฝึกอบรมสำหรับน้องเลี้ยง


เป้าหมายหลังการอบรม

  1. มีความมั่นใจและรู้สึกง่ายต่อการใช้กระบวนการเป็นพี่เลี้ยงไปใช้ในการทำงานด้วยการใช้แนวทางของตนเอง
  2. นำทักษะการเป็นพี่เลี้ยงไปประยุกต์ใช้กับบทบาทอื่น ทั้งการเป็นหัวหน้างาน
  3. มองเห็นผลลัพธ์การพัฒนาความสามารถบุคลากรในทีมที่แตกต่าง ด้วยการนำกระบวนการเป็นพี่เลี้ยงไปใช้จริง อย่างเป็นขั้นตอน
  4. การยอมรับจากลูกน้องในทีม ด้วยภาพลักษณ์ของการเป็นผู้ช่วยเหลือและพัฒนาผู้อื่นด้วยศักยภาพของเขาเองอย่างแท้จริง
  5. มีการใช้กระบวนการเป็นพี่เลี้ยง ให้เป็นส่วนหนึ่งในวิธีการพัฒนาบุคลากรภายในองค์กรทุกระดับมากขึ้น ทำให้สามารถใช้ศักยภาพของตนเองในการทำงานได้ดีขึ้น เกิดแนวคิดในการพัฒนางานที่หลากหลายมากขึ้นตามแนวทางของแต่ละบุคคล



Reserve your next workshop or training.

สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ Line Official : @intuit-leader

info.intuitleader@gmail.com

(066) 139-2111 (คุณนุ้ย)

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ
Powered By MakeWebEasy Logo MakeWebEasy